ซิลิโคนเสริมหน้าอกกับโอกาสการเกิดมะเร็งALCL

ซิลิโคน-มะเร็ง

ใครที่คิดจะเสริมหน้าอกต้องอ่าน!! และ ควรทราบถึงผลการศึกษาของซิลิโคนยี่ห้อต่างๆ ที่จะเลือกใส่เข้าไปในตัวเรา

ซิลิโคนเสริมหน้าอกในท้องตลาดตอนนี้มีหลายยี่ห้อที่เรารู้จักกัน หรือ อาจเคยได้ยินกันมา เช่น Mentor, Silimed, Motiva, Allergan, Sebbin ฯลฯ แต่จะมีสักกี่คนที่จะหาข้อมูลเชิงลึก และอ่านการศึกษาวิจัย ในการรายงานเคสที่ใส่ซิลิโคนยี่ห้อนั้นๆ มาเป็นเวลานานแล้วว่ามีโอกาสเกิดมะเร็งหรือไม่?? วันนี้แอดมินเลยขออนุญาตมาแชร์ข้อมูลทางการแพทย์ จากคุณหมอเติ๊ด The Class Clinic (แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมพลาสติก) เรื่อง มะเร็งที่เกิดจากซิลิโคนเสริมหน้าอก ซึ่งปกติเกิดน้อยมาก ที่ผ่านมาพบในประเทศไทยเพียงไม่กี่ราย และแม้เกิดขึ้น ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบในระยะที่2 โดยการรักษาคือการเลาะพังผืดที่หุ้มซิลิโคนและนำซิลิโคนออกพร้อมกัน เหมือนกับการแก้ไขเคสพังผืดรัดซิลิโคน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลหากต้องการเสริมหน้าอก เพียงแต่ควรเลือกยี่ห้อที่มีข้อมูลที่ปลอดภัยมายาวนาน

การเกิดมะเร็งจากซิลิโคนหน้าอกนั้น จะเป็นชนิดที่เรียกว่า BIA-ALCL (Breast Implant Associate – Anaplastic large cell lymphoma) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ALCL คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด T-Cell ที่เต้านม ซึ่งเกิดจากการเสริมหน้าอกที่ใช้เต้านมเทียม

พบไม่บ่อย โอกาสพบได้น้อยมากๆ เพียง 1:20,000 – 1:86,000 โดยส่วนใหญ่แล้ว จะพบจากเคสที่ใช้เต้านมเทียมแบบผิวทราย (Textured Implant)

 สาเหตุเกิดจากการปนเปื้อนของแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งการปนเปื้อนของแบคทีเรียนี้จะปนเปื้อนยากง่ายขึ้นอยู่กับ วิธีผลิต / ลักษณะของผิวขรุขระ (texture ) ของซิลิโคนแต่ละยี่ห้อ

จากรายงานการวิจัย ซิลิโคนรุ่นที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ALCL มากไปน้อย ได้แก่ Polyurethane —> Biocell —> Siltex

ส่วนซิลิโคนผิวเรียบ เช่น Smooth-Surface Mentor และ Motiva (เป็นผิวเรียบชนิด Nano) ยังไม่มีรายงานเรื่องการเกิดมะเร็งเต้านม

ข้อมูลจาก นพ.ธีรภัทร์ ใจประสาท (หมอเติ๊ด)
บอร์ดเฉพาะทางศัลยแพทย์ตกแต่งและเสริมสร้าง